Risk Management Forum

ศูนย์ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ การบริหารจัดการความเสี่ยง ควบคุมภายใน ตรวจสอบ Compliance

New CSR จากความรับผิดชอบสู่ความสามารถในการทำกำไร – เรื่องที่ 553

ปกหนังสือ ความเสี่ยง

หนังสือ บริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ พิมพ์ครั้งที่ 2 อาจารย์ จิรพร สุเมธีประสิทธิ์

ราคาปก 179 บาท

อาจารย์ จิรพร  สุเมธีประสิทธิ์

sumetheeprasit@hotmail.com

https://chirapon.wordpress.com

1_003

เมื่อประชาคมโลกกำหนดให้กิจการต้องมีกิจกรรมกับสังคมและชุมชนที่เรียกว่า “ความรับผิดชอบต่อสังคม” (Corporate Social Responsibility) การพัฒนาแนวทางการดำเนินกิจกรรม CSR จึงได้เริ่มต้นขึ้นและมีการปรับตัวมาตามลำดับ จนเกิดแบบจำลอง CSR ขึ้นมากมาย

หากสรุปการพัฒนาด้านแบบจำลองล่าสุดของ CSR อาจจะประมวลภาพได้ ดังนี้

ประการที่ 1

การขยายขอบเขต CSR จาก Corporate Social Responsibility เป็นมุมมองและวิสัยทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น เป็น Corporate Sustainable Responsibility หรือในกรณีของหน่วยงานภาครัฐ คำนี้ได้ขยายความหมายออกไปเป็น Community (Country) Sustainable Responsibility เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องคิดให้ไกลและครอบคลุมมากขึ้นกว่าเดิม

ประการที่ 2

กิจกรรม CSR ถูกขยายวงและแนวทางออกไปเรื่อยๆจนกลายเป็นคำว่า Beyond CSR แล้ว เพื่อให้แต่กิจการต่อยอดกิจกรรมออกไปจากเดิม รวมไปถึงการใช้กิจกรรม CSR ในการเพิ่มความสามารถในการทำกำไรให้แก่กิจการ แทนที่จะเป็นเรื่องของการเสียสละ การใช้จ่ายที่กิจกรรมเป็นฝ่ายให้อย่างเดียว มาสู่การเป็นฝ่ายให้และฝ่ายรับพร้อมกัน

ประการที่ 3

กิจกรรมCSR เป็นกิจกรรมหลักกิจกรรมหนึ่งในการวางแผนธุรกิจประจำปีของกิจการโดยการกิจกรรม CSR จะนำเอาจริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics) เป็นตัวตั้งและใช้ในการออกแบบกิจกรรม CSR ควบคู่กับการสร้างและปกป้องคุณค่าของกิจการในด้านของความยั่งยืนในระยะยาว

ประการที่ 4

การประกอบธุรกิจของกิจการเป็นบริบทสำคัญของการวางกรอบแนวทางCSRของแต่ละกิจกรรมที่มีความแตกต่างกัน

โดยปรัชญาของ CSR คือการยอมรับว่าการประกอบการของแต่ละกิจการเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา เพราะโมเดลธุรกิจไม่อาจจะดำเนินงานได้สอดคล้องกับธรรมชาติเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ทั้งหมด

เพราะการปฏิบัติทางอุตสาหกรรมและพัฒนาการทางธุรกิจที่มีเทคโนโลยี กระบวนการที่ก้าวหน้ามากขึ้น จึงทำให้แบบจำลอง CSR ที่เคยใช้อยู่ล้าสมัย ใช้ไม่ได้อีก เพราะกิจการจะต้องหาวิธีการใหม่ๆ ที่จะทำให้แสดงบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้นในเชิงบวก ไม่ใช่เพียงแค่ทำสิ่งไม่ดีลดน้อยลงเท่านั้น

ประการที่ 5

ในแต่ละกิจการไม่อาจมอบหมายให้เฉพาะฝ่ายงานใดฝ่ายงานหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบทำกิจกรรม CSR แทนสังคมได้อีกต่อไป หากแต่ต้องกำหนดบทบาทใหม่ว่า CSR เป็นแผนงานหลักขององค์กร ซึ่งทุกฝ่ายงานจะต้องถ่ายทอดลงไปสู่โครงการย่อยและกิจกรรมย่อยในระดับฝ่ายงาน ส่วนงานและระดับรายบุคคลด้วยการเชื่อมโยงให้แทรกไว้ในกระบวนการดำเนินงานและการปฏิบัติงานประจำวัน

ประการที่ 6

การที่จะทำได้ขนาดที่แทรกกิจกรรม CSR ไว้ในกระบวนการดำเนินงานและการปฏิบัติงานประจำวันได้ จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อกิจการมีแรงจูงใจหรือผลตอบแทนที่คุ้มค่า แทนที่จะทำไปตามความจำเป็นหรืออย่างเสียไม่ได้

การดำเนินการให้ CSR เป็นส่วนหนึ่งของแรงจูงใจนั้นมาจากความสำเร็จในการผนวกรวมการ CSR กับการดำเนินงานและปฏิบัติงานตามปกติว่ามีส่วนในการสร้างความยั่งยืนแก่กิจการเหมือนกับการขายสินค้าและทำรายได้ได้ในปัจจุบัน เพราะความสำคัญของการทำกิจกรรม CSR จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการทำรายได้ในอนาคต หรือเป็นแหล่งที่มาของกระแสรายได้ในอนาคต

ประการที่ 7

ในขณะที่กิจการดำเนินธุรกิจอยู่ กิจการอาจจะมีความคุ้มค่าในการบริหาร CSR มากขึ้นหากสิ่งที่กิจการดำเนินงานสามารถพิสูจน์ได้ว่าไปช่วยลดผลกระทบซึ่งเป็นต้นทุนต่อสังคมและต้นทุนต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่ได้บันทึกรายการทางบัญชีในงบการเงินของกิจการโดยตรง

ซึ่งแนวคิดนี้แตกต่างจากการที่กิจการมีส่วนร่วมในงานการกุศล บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์จากการที่กิจการมีผลกำไร ณ สิ้นปีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นแนวคิดแบบดั้งเดิม

ประการที่ 8

ผลการสำรวจของ IBM ชี้ว่ากิจการส่วนใหญ่มีความเข่าใจในคุณค่าทางด้านการเงินของกิจกรรม CSR และใช้ CSR เป็นประโยชน์ในการเพิ่มโอกาสและแบบจำลองในด้านการเติบโตของกิจการ

IBM ได้พัฒนาเส้นที่แสดงเส้นทางของการพัฒนาของ CSR เรียกว่า CSR Value Curve จากจุดเริ่มต้นจนไปถึงขั้นที่สร้างการเติบโตเป็น 5 ระดับ

ระดับที่ 1

การให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ ประเพณีจารีตในแต่ละประเทศ แต่ละพื้นที่ที่ดำเนินธุรกิจ ทำให้การดำเนินงานมีความสอดคล้องกับการยอมรับของแต่ละพื้นที่

ระดับที่ 2

การมรกิจกรรมการกุศลเชิงกลยุทธ์เป็นการพัฒนากิจกรรมการกุศลที่เป็นเรื่องทางสังคมและประเพณี ขณะเดียวกันก็มีส่วนสนับสนุนวัตถุประสงค์ทางธุรกิจของกิจการด้วย

ระดับที่ 3

การวางบรรทัดฐาน/มาตรฐานภายในกิจการที่ตั้งบนมูลค่า (Value Based) เป็นการวางระบบแบบแผนอย่างเป็นทางการของกิจการเอง ซึ่งอาจจะเป็นกฎบัตร ประกาศ กรอบแนวทางที่กำกับพฤติกรรมภายในกิจการในด้าน CSR

ระดับที่ 4

การทำกิจกรรม CSR ที่เน้นประสิทธิภาพ เป็นการเน้นการประหยัดต้นทุนและค่าใช้จ่ายภายในกิจการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีผลในการประหยัดพลังงาน ลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติด้วย

ระดับที่ 5

การวางแพลตฟอร์มการเติบโต เป็นการพัฒนาสู่ตลาดใหม่ หรือพันธมิตรกลุ่มใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ของกิจการที่อยู่บนแนวทางการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมสร้างประโยชน์ทางสังคม พร้อมกับทำกำไรให้แก่กิจการด้วย

 

สนใจเชิญบรรยายหัวข้อนี้ติดต่อ sumetheeprasit@hotmail.com

มกราคม 10, 2014 - Posted by | ไม่มีหมวดหมู่ |

ยังไม่มีความเห็น

ใส่ความเห็น