Risk Management Forum

ศูนย์ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ การบริหารจัดการความเสี่ยง ควบคุมภายใน ตรวจสอบ Compliance

ความเสี่ยงการประเมินผลดำเนินงาน-ปัญหาและจุดอ่อนที่มักเกิดง่าย (ตอนที่ 1)-เรื่องที่ 576

ปกหนังสือ ความเสี่ยง

หนังสือ บริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ พิมพ์ครั้งที่ 2 อาจารย์ จิรพร สุเมธีประสิทธิ์

ราคาปก 179 บาท

อาจารย์ จิรพร สุเมธีประสิทธิ์
sumetheeprasit@hotmail.com
https://chirapon.wordpress.com

1.a12.03.57

ความเสี่ยงที่สำคัญของการบริหารงานบุคคลและการบริหารผลประกอบการของกิจการที่ผู้บริหารกิจการอาจจะละเลยหรือเห็นว่าไม่ได้มีความสำคัญมากนักคือการประเมินผลการดำเนินงานที่ไม่เหมาะสม และเป็นระบบการกำกับการปฏิบัติงานที่บุคลากรเกลียดชังและต่อต้านมากที่สุดระบบหนึ่ง
กระนั้นก็ตาม การประเมินผลดำเนินงานเป็นกระบวนการที่ละเว้นหรือยกเลิกไม่ได้ จึงต้องมีการทบทวนปัญหาและจุดอ่อนของกระบวนการในการประเมินผลดำเนินการให้ดีเพื่อหาทางปรับปรุง แก้ไขปัญหาและปิดจุดอ่อนต่างๆให้มากที่สุดเพื่อมิให้กลายเป็นเหตุการณ์ความเสี่ยงเรื้อรังของกิจการ
มีการศึกษาพบว่าประเด็นที่เป็นปัญหาและจุดอ่อนสำคัญของการประเมินผลดำเนินงานมีมากมาย ซึ่งหากผู้ที่เกี่ยวข้องลองเอาประเด็นใดที่เป็นปัญหาหรือจุดอ่อนสำคัญที่ควรมีการดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน
ปัญหาของจุดอ่อนสำคัญของการประเมินผลดำเนินงานอาจจะได้แก่ประเด็น ต่อไปนี้

ประเด็นที่ 1
การประเมินผลไม่ได้วิเคราะห์และประเมินตัวผลดำเนินงานแต่เน้นที่ตัวคนและบุคลิกภาพหรือองค์ประกอบของบุคคล เช่น ความรู้ ความมุ่งมั่น ความสม่ำเสมอ ความใส่ใจ การมีส่วนร่วมซึ่งปัจจัยเกี่ยวกับบุคลิกภาพหรือองค์ประกอบของบุคคลเหล่านี้เป็นเพียงปัจจัยสนับสนุนผลดำเนินงาน แต่ยังไม่ได้วัดผลของการดำเนินงานจริงๆ
หากงานประเมินจะวิเคราะห์และประเมินบุคคลก็ต้องเรียกกระบวนการเช่นนั้นว่า “การประเมินบุคคล” เพราะการประเมินผลดำเนินงานคือการประเมินคุณภาพของผลผลิต (Output) ปริมาณงานที่เกิดขึ้นจริง มูลค่าของผลงาน และความสามารถในการตอบสนองต่อความจำเป็นจากผลดำเนินงาน
ประเด็นที่ 2
การประเมินผลไม่ได้ส่งข้อมูลย้อนกลับด้วยความถี่อย่างเพียงพอทั้งที่การประเมินผลต้องการรับรู้ถึงความก้าวหน้าของการดำเนินงานตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง การใช้การประเมินผลเพียงปีละไม่กี่ครั้งจึงไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์หรือคุณค่าต่อกิจการ ในกิจการที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลงานต้องการให้ผลการประเมินงานแสดงสถานะล่าสุดในลักษณะ “Real Time” ด้วยซ้ำ
ดังนั้นความถี่ของการประเมินผลดำเนินงานจึงไม่ควรมีระยะห่างกันตลอดทั้งปี หากแต่ควรมีความถี่ของการประเมินศักยภาพและความพร้อมในระยะแรกเริ่มมากกว่าระยะกลางปี เช่นไตรมาสแรกของปี ควรจะมีความถี่ของการประเมินไม่น้อยกว่าเดือนละ1 ครั้ง ในไตรมาสที่ 2 และ 3 อาจจะประเมินผลไตรมาสละครั้ง และในไตรมาสสุดท้ายควรจะมีความถี่มากที่สุด เช่นทุก 14 วันหรือทุกสัปดาห์เว้นสัปดาห์
ประเด็นที่ 3
การประเมินผลไม่ได้มี Baseline หรือ Data base ที่ดีพอเพียง เนื่องจากไม่ได้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลหรือข้อมูลพื้นฐานที่ชัดเจนก่อนที่จะเริ่มดำเนินงานในปีงบประมาณปัจจุบัน การประเมินผลจึงอาจจะต้องพึ่งพาความเห็น ดุลยพินิจและการกำหนดเกณฑ์เฉพาะกรณี ซึ่งอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการต่อต้านระบบการประเมินผลดำเนินงานจากเจ้าของงาน
ประเด็นที่ 4
การประเมินผลไม่ได้ใช้ Metrics ที่มีประสิทธิภาพและสร้างประสิทธิผล การประเมินผลดำเนินงานส่วนใหญ่มักจะประเมินด้วยการวัดผลเป็น%ต่องานทั้งหมดที่ต้องดำเนินงานให้สำเร็จแต่การประเมินผลไม่ได้ใช้การวัดผลโดยเจ้าของงานว่า ผลการดำเนินงานของตนได้ก่อให้เกิดผลผลิตใดบ้างระหว่างทาง และผลผลิตในระดับรายกิจกรรมเหล่านั้นมีส่วนสนับสนุนให้การดำเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายสุดท้ายอย่างไร
การประเมินผลที่เน้นการรวบรวมและวัดผลงานสุดท้ายแล้ว เพื่อแสดงจุดอ่อนไว้ใช้ในการพัฒนาบุคลากรและระบุบุคคลที่มีผลการดำเนินงานต่ำกว่าเป้าหมายไม่ได้ช่วยสร้างมูลค่าของการดำเนินงานอย่างแท้จริง
ประเด็นที่ 5
การประเมินผลที่ขาดการวางหน้าที่ความรับผิดชอบและบทบาทของบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องอย่างครอบคลุม แม้ว่าจะมีการนำเอาแนวคิด OS Metrics มาใช้ในการวางขอบเขตการจัดสรรและมอบหมายหน้าที่ของบุคคล แต่อาจจะไม่ได้เน้นความเชื่อมโยงกัลป์ผลผลิตของงาน การกำหนดตัวบุคคลขาดตกบกพร่อง ไม่ปรับให้เป็นปัจจุบันตามการเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดจริง ไม่มีบทลงโทษชัดเจนกับผู้ที่
(1) ทำงานไม่เสร็จตามผลดำเนินงานที่มอบหมาย
(2) ทำงานผิดพลาดไม่เป็นไปตามผลดำเนินงานที่มอบหมาย
ประเด็นที่ 6
การขาดความเชื่อมโยงหรือจัดการความเชื่อมโยงให้เหมาะสมระหว่างผลการดำเนินงานกับผลตอบแทนหรือระบบแรงจูงใจ ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการให้ผลตอบแทนแก่บุคลากรและผลการประเมินการดำเนินงานให้ค่าคะแนนที่ไม่เหมาะสมจนไม่ได้รับการยอมรับ ไม่สะท้อนการบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาลและระบบการบริหารบุคลากรที่มีคุณธรรม
นอกจากนั้นการขาดความเชื่อมโยงหรือวางการเชื่อมโยงที่ไม่เหมาะสม ทำให้ทั้งตัวผู้บังคับบัญชาและตัวบุคลากรเจ้าของงานไม่ให้ความสำคัญกับระบบการประเมินผลการดำเนินงาน

สนใจเชิญบรรยายหัวข้อนี้ติดต่อ sumetheeprasit@hotmail.com

มีนาคม 15, 2014 Posted by | ไม่มีหมวดหมู่ | , , | ใส่ความเห็น