Risk Management Forum

ศูนย์ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ การบริหารจัดการความเสี่ยง ควบคุมภายใน ตรวจสอบ Compliance

เรื่องที่ 3003 การบริหารข้อโต้แย้งและการอุทธรณ์ผลการตรวจสอบภายใน (ตอนที่ 3)

อาจารย์   จิรพร  สุเมธีประสิทธิ์

https//chiraporn.wordpress.com

มาตรฐานเชิงวิชาชีพ IPPF ที่เกี่ยวข้อง

2600 – การสื่อสารถึงการยอมรับความเสี่ยง

เมื่อหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในมีความเห็นว่าระดับความเสี่ยงที่ผู้บริหารยอมรับนั้นอาจจะไม่อยู่ในระดับที่องค์กรจะยอมรับได้ หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในต้องหารือกับผู้บริหารระดับสูง หากหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในพิจารณาแล้วเห็นว่าประเด็นดังกล่าวยังไม่ได้ข้อยุติ หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในต้องสื่อสารเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการ

บทตีความ :

การระบุถึงความเสี่ยงที่ยอมรับโดยผู้บริหารนั้นอาจสังเกตได้โดยผ่านการปฏิบัติงานการให้ความเชื่อมั่น หรือการให้คำปรึกษา การเฝ้าติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการโดยผู้บริหารซึ่งเป็นผลจากการตรวจสอบครั้งก่อน หรือโดยวิถีทางอื่น ๆ ทั้งนี้การหาข้อยุติเกี่ยวกับความเสี่ยงไม่ใช่หน้าที่ของหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในภาคอภิธานศัพท์

2050 – การประสานงานและการพึ่งพาผลงานของผู้อื่น

หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในควรแลกเปลี่ยนข้อมูลประสานงาน และพิจารณาใช้ผลงานของผู้ให้บริการด้านการให้ความเชื่อมั่นและให้คำปรึกษาจากภายในและภายนอกองค์กรรายอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในความครอบคลุมอย่างเหมาะสม และเพื่อให้การปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกันน้อยที่สุด

บทตีความ : ในกิจกรรมการประสานงานกันนั้น หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในอาจใช้ผลงานของผู้ให้บริการด้านการให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษารายอื่น ควรกำหนดกระบวนการที่สอดคล้องกันในการกำหนดพื้นฐานของการใช้ผลงานของผู้อื่น และหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในควรคำนึงถึงความสามารถความเที่ยงธรรม และการใช้ความระมัดระวังในการประกอบวิชาชีพอย่างเหมาะสมของผู้ให้บริการด้านการให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษานอกจากนี้ หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในควรมีความเข้าใจอย่างชัดเจนในขอบเขตวัตถุประสงค์ รวมทั้งผลของงานที่กระทำโดยผู้ให้บริการด้านการให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษารายอื่นด้วย เมื่อใดที่ได้ใช้ผลงานของผู้อื่น หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในก็ยังคงต้องมีหน้าที่และรับผิดชอบต่อการทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่าผลงานนั้นสามารถสนับสนุนข้อสรุปและความเห็นของหน่วยงานตรวจสอบภายในได้อย่างพอเพียง

2320 – การวิเคราะห์และประเมินผล

 ผู้ตรวจสอบภายในต้องลงความเห็นและสรุปผลการปฏิบัติงานโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์และการประเมินที่เหมาะสม

2410.A1 – ในการสื่อสารถึงผลการปฏิบัติงานชุดสุดท้าย จะต้องมีข้อสรุปและเสนอแนะที่ใช้การได้และ/หรือแผนดำเนินการแก้ไข ในบางกรณี ผู้ตรวจสอบภายในควรให้ความเห็นด้วยตามความเหมาะสม ความเห็นของผู้ตรวจสอบภายในจะต้องคำนึงถึงความคาดหวังของผู้บริหารระดับสูงคณะกรรมการ และผู้มีส่วนได้เสียอื่นรวมทั้งต้องสนับสนุนด้วยข้อมูลที่เพียงพอ เชื่อถือได้มีความเกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์

บทตีความ : ความเห็นที่อยู่ในระดับงานที่ได้รับมอบหมายอาจเป็นการจัดอันดับ การสรุปประเด็น หรือการบรรยายถึงผลของงาน งานที่ได้รับมอบหมายนั้นอาจเกี่ยวข้องกับวิธีการควบคุมที่มีอยู่ในกระบวนการเฉพาะบางกระบวนการ ความเสี่ยง หรือหน่วยธุรกิจ ดังนั้น ในการจัดทำความเห็นจำเป็นต้องคำนึงถึงผลของงานและความมีนัยสำคัญ

2450 – การให้ความเห็นในภาพรวม

เมื่อมีการให้ความเห็นในภาพรวม จะต้องคำนึงถึงกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และความเสี่ยงขององค์กรรวมทั้งความคาดหวังของผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการ และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ทั้งนี้ ความเห็นโดยรวมดังกล่าวต้องสนับสนุนด้วยข้อมูลที่เพียงพอ น่าเชื่อถือ มีความเกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์

บทตีความ : การสื่อสารจะรายงานถึง

 ขอบเขตการปฏิบัติงาน รวมถึงระยะเวลาที่ครอบคลุมในการให้ความเห็น

 ข้อจำกัดในขอบเขต

 การพิจารณาโครงการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงการใช้ผลงานของผู้ปฏิบัติงาน/ที่ปรึกษาอื่น

 บทสรุปย่อของข้อมูลที่สนับสนุนความเห็นโดยรวมนั้น

 กรอบความเสี่ยงหรือการควบคุม หรือเกณฑ์อื่น ๆ ที่เป็นพื้นฐานการให้ความเห็นโดยรวม

 ความเห็นโดยรวม ดุลพินิจ หรือ ข้อยุติที่ได้ทั้งนี้ ต้องระบุสาเหตุของความเห็นที่แสดงถึงความไม่น่าพึงพอใจในภาพรวมไว้ด้วย

มาตรฐาน NEW GLOBAL INTERNAL AUDIT STANDARD 2024

ข้อกำหนดของมาตรฐาน 1.1

ผู้ตรวจสอบภายในต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์และแสดงความกล้าหาญเชิงวิชาชีพ

(1)   ผู้ตรวจสอบภายในต้องเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ดำเนินงานบนพื้นฐานความถูกต้อง มีความชัดเจน เปิดกว้าง และให้ความเคารพต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง

(ก)  ในระหว่างการบริหารความสัมพันธ์เยี่ยงผู้มีวิชาชีพ

(ข)   ในระหว่างการสื่อสาร

(ค)  เมื่อต้องแสดงข้อสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ หรือแสดงความคิดเห็น หรือให้มุมมองที่มีลักษณะย้อนแย้งหรือต่อต้านจากสิ่งที่เป็นอยู่

(2)   ผู้ตรวจสอบภายในต้องไม่กระทำผิด ชี้นำในทางที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เข้าใจผิด หรือให้ข้อมูลในลักษณะที่หลอกลวง หรือปิดบังปกปิด หรือละเว้นสิ่งที่พบ คนที่เกี่ยวข้อง (false, misleading, or deceptive statement)

(3)   ผู้ตรวจสอบภายในต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงที่มีสาระสำคัญทั้งหมดที่ได้รับรู้ หากเห็นว่าการไม่เปิดเผยจะมีผลกระทบต่อความสามารถดำเนินการตัดสินใจที่ดีขององค์กร

(4)   ผู้ตรวจสอบภายในต้องแสดงถึงความกล้าหาญเชิงวิชาชีพ ด้วยการสื่อสารสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงและดำเนินการที่เหมาะสมตามความจำเป็น แม้ว่าจะต้องเผชิญหน้ากับการโต้แย้งความคิดเห็นที่แตกต่างกัน หรือทำให้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยุ่งยาก

(5)   CAE ต้องธำรงรักษาไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมการทำงานที่ทำให้ผู้ตรวจสอบภายในรู้สึกว่าได้รับการสนับสนุนเมื่อต้องเผชิญหน้ากับประเด็นที่เป็นมุมทางด้านข้อกฎหมาย การนำไปสู่คดีความหรือผลลัพธ์จากการสร้างพันธะผูกพันด้านการตรวจสอบที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ไม่ว่าจะเป็นไปในทางที่น่าพึงพอใจหรือไม่ก็ตาม

มิถุนายน 4, 2024 - Posted by | ไม่มีหมวดหมู่

ยังไม่มีความเห็น

ใส่ความเห็น