Risk Management Forum

ศูนย์ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ การบริหารจัดการความเสี่ยง ควบคุมภายใน ตรวจสอบ Compliance

ควบคุมภายใน COSO-บทเรียนความล้มเหลวในมุมมองผู้ประเมิน (ตอนที่ 2)- เรื่องที่ 582

ปกหนังสือ ความเสี่ยง

หนังสือ บริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ พิมพ์ครั้งที่ 2 อาจารย์จิรพร สุเมธีประสิทธิ์

ราคาปก 179 บาท

 

อาจารย์ จิรพร  สุเมธีประสิทธิ์

sumetheeprasit@hotmail.com

https://chirapon.wordpress.com

1.a23.3.57

ในตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงหลักการของการควบคุมภายในที่สำคัญประเภทแรกคือ การบริหารงานควบคุมภายในในภาพรวมและวัฒนะธรรมการควบคุมภายในภายในองค์กร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมการควบคุมที่สำคัญ

สำหรับในตอนที่ 2 นี้ จะได้กล่าวถึง การรับรู้ข้อมูลความเสี่ยงผ่านการค้นหาและระบุความเสี่ยง การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง เพื่อจะนำไปใช้ในขั้นตอนของกิจกรรมการควบคุมต่อไป

 

หลักการที่ 2

การรับรู้ความเสี่ยงผ่านการค้นหาและระบุความเสี่ยง การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง

(1)   ข้อมูลความเสี่ยงสำคัญที่กระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกิจการมีการปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามสถานการณ์ ทำให้กิจการต้องมีการทบทวน สถานะความเสี่ยง ณ ปัจจุบันของกิจการอยู่เสมอ และหาทางรับรู้ความเสี่ยงใหม่ๆเพิ่มเติมผ่านการค้นหาและระบุความเสี่ยง การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง เพื่อที่จะได้จัดวางกิจกรรมการควบคุมไว้รองรับอย่างเหมาะสม

(2)   การดำเนินงานและโครงการทุกโครงการของกิจการล้วนแต่ทำให้กิจการต้องแบกรับความเสี่ยง จึงต้องหาให้ได้ว่าความเสี่ยงใดบ้างที่ต้องแบกรับไว้ และจะใช้การควบคุมภายในจัดการกับความเสี่ยงสำคัญๆอย่างไร โดยการค้นหาและระบุความเสี่ยงอาจจะต้องทำอย่างต่อเนื่องจนกว่าการดำเนินงานจะบรรลุผล

(3)   ข้อมูลความเสี่ยงที่ต้องหาทางรับรู้ครอบคลุมทั้งปัจจัยความเสี่ยงจากภายในกิจการและภายนอกกิจการที่อาจจะส่งผลให้การดำเนินงานไม่บรรลุผลสำเร็จโดยเน้นการดำเนินงานในทุกระดับกิจการ เพื่อหาทางจัดวางกิจกรรมและการควบคุมที่เหมาะสม

(4)  ปัจจัยความเสี่ยงภายในกิจการ ได้แก่

(4.1) ความซับซ้อนของโครงสร้างองค์กร

(4.2) รูปแบบและลักษณะเฉพาะของภาระงานและกิจกรรมหลักของกิจการที่จะพิจารณา

(4.3) คุณภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงาน

(4.4) เงื่อนไขชองการดำเนินงาน กระบวนการปฏิบัติงาน

(4.5) ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน

(5)  ข้อมูลความเสี่ยงที่รวบรวมได้จะถูกนำมาพิจารณาว่าได้ใช้ในการควบคุมภายในอยู่แล้วบ้าง ณ ปัจจุบัน มีความพอเพียงในการกำกับการปฏิบัติงานหรือไม่ และกรณีที่ไม่พอเพียง มีความจำเป็นต้องเพิ่มกิจกรรมควบคุมหรือไม่ หรือยอมรับความเสี่ยงนั้นต่อไป

บทเรียนที่เรียนรู้จากความล้มเหลวของการรับรู้ความเสี่ยงชองกิจการในส่วนของการค้นหาและค้นหาระบุความเสี่ยง การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง ได้แก่

(1)   กระบวนการรับรู้และสร้างความตระหนักในความเสี่ยงผ่านการค้นหาและระบุความเสี่ยงยังไม่เพียงพอ

(1.1)  ความรวบรัดของระยะเวลาในการดำเนินการมากเกินไป

(1.2)  ดำเนินการโดยบุคคลเพียงไม่กี่คน ไม่ใช่มาจากตัวแทนของทุกหน่วยงานย่อย

(1.3)  ผู้ที่ร่วมในกระบวนการค้นหาและระบุความเสี่ยงขาดความรู้ความเข้าใจในเทคนิคของการค้นหาและระบุความเสี่ยง

(1.4)  ผู้ที่เข้าร่วมในกระบวนการมาจากบุคลากรเพียงบางระดับโดยเฉพาะระดับปฏิบัติการ จึงขาดวิสันทัศน์และมุมมองความเสี่ยงอย่างลึกซึ่ง

(1.5)  จำกัดขอบเขตของการค้นหาและระบุความเสี่ยงเฉพาะบางประเด็น ไม่ครอบคลุมกิจกรรมและธุรกรรมสำคัญ

(1.6)  พิจารณาเฉพาะงานประจำ ไม่ได้พิจารณาความเสี่ยงของงานโครงการ

(1.7)  พยายามปกปิดปัญหาของการปฏิบัติงาน เพราะเกรงว่าจะกลายเป็นความบกพร่องของรายบุคคล

(2)  ไม่สามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ความเสี่ยงกับการควบคุมที่มีอยู่เพราะกิจการไม่ได้ประกาศใช้กิจกรรมการควบคุมภายในอย่างเป็นทางการ

(3)   ขาดบรรทัดฐานหรือเงื่อนไขชัดเจนในการค้นหาและระบุความเสี่ยง

(4)   ขาดการทบทวนข้อมูลความเสี่ยงทำให้ข้อมูลความเสี่ยงที่มีอยู่ไม่เป็นปัจจุบันและขาดข้อมูลความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่

(5)   ให้ความสำคัญเฉพาะปัจจัยความเสี่ยงภายในกิจการแต่ขาดข้อมูลปัจจัยความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมภายนอก

(6)   กระบวนการในการเพิ่มเติมการควบคุมภายในมีความซับซ้อนต้องขออนุมัติก่อน ซึ่งการพิจารณาอาจล่าช้า ไม่ทันกาลและความจำเป็นในกรณีที่ต้องการแก้ไขโดยเร่งด่วน

(7)   การกำหนดนโยบายให้มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่หรือรุกตลาดใหม่ไม่ได้เริ่มต้นด้วนการค้นหาและระบุความเสี่ยงก่อน ทั้งที่ผลิตภัณฑ์ใหม่หรือการเข้าสู่ตลาดใหม่มีโอกาสเกิดความเสี่ยงเกิดใหม่ที่กิจการไม่เคยมีความคุ้นเคยมาก่อน

 

สนใจเชิญบรรยายหัวข้อนี้ติดต่อ sumetheeprasit@hotmail.com

มีนาคม 23, 2014 Posted by | ไม่มีหมวดหมู่ | , , , | ใส่ความเห็น

ควบคุมภายใน COSO1992 สู่ COSO2013-บทเรียนความล้มเหลวในมุมมองผู้ประเมิน (ตอนที่ 1) -เรื่องที่ 581

 

 

อาจารย์ จิรพร  สุเมธีประสิทธิ์

sumetheeprasit@hotmail.com

https://chirapon.wordpress.com

1.a20.3.57.1

การควบคุมภายในเป็นส่วนหนึ่งของการกำกับดูแลกิจการที่ดี จึงเป็นประเด็นที่ผู้ทำหน้าที่กำกับการควบคุมภายในให้ความสำคัญและพยายามที่จะวางกรอบแนวทางในการพัฒนาระบบการควบคุมภายในให้เข้มแข็งเพียงพอที่จะรองรับการปฏิบัติงานในภาวะปกติและงานประจำวันอย่างเพียงพอและเหมาะสม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ระบบการควบคุมภายในเป็นองค์ประกอบสำคัญของการบริหารจัดการและเป็นพื้นฐานของความมั่นคงและความปลอดภัยของการดำเนินงานในระหว่างเวลาทำการด้วย

กิจการที่ใส่ใจกับการพัฒนาระบบการควบคุมภายในจะมีความเชื่อมั่นในระบบการควบคุมภายในที่แข็งแกร่งว่าจะมีส่วนเพิ่มความมั่นใจว่าการดำเนินงานจะบรรลุตามเป้าประสงค์และพันธกิจของกิจการรวมทั้งเป้าหมายมูลค่าเพิ่มของกิจการในระยะยาว รวมทั้งธำรงรักษาสถานะทางการเงินและความสามารถในการบริหารงบประมาณและการลงทุนที่คุ้มค่าได้ ควบคู่กับการกำกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ด้วย ขณะเดียวกัน กิจการมีโอกาสที่จะหลีกเลี่ยงหรือป้องกันความเสียหายหรือความสูญเสียทางการเงินและไม่เป็นตัวเงินได้ผ่านระบบการควบคุมภายในที่ดีและมีประสิทธิภาพ

ในส่วนของผู้ที่ทำหน้าที่กำกับระบบการควบคุมภายในของกิจการ การพัฒนาระบบการควบคุมภายในอาจจะมาจากการแก้ไขบทเรียนที่เป็นความล้มเหลวของการควบคุมภายในในอดีตได้ส่วนหนึ่ง และนำมาปรับปรุงหลักการและกรอบแนวทางในระบบการควบคุมภายในของกิจการ

บทเรียนจากความล้มเหลวของระบบการควบคุมภายในที่เกิดขึ้นกับกิจการต่างๆที่อาจจะนำไปใช้เป็นหลักการร่วมกันของกิจการโดยทั่วไป ที่ควรจะได้รับความใส่ใจของงานกำกับระบบควบคุมภายในเพิ่มขึ้น ได้แก่

หลักการที่ 1 การบริหารงานควบคุมในภาพรวมและวัฒนธรรมการควบคุม

(1)  คณะกรรมการบริษัทรับผิดชอบในการให้ความเห็นชอบกลยุทธ์ทางธุรกิจ แผนดำเนินงานของกิจการ รวมทั้งกำหนดนโยบายการดำเนินงานของกิจการอยู่แล้ว ซึ่งในการพิจารณาข้อมูลเพื่อให้ความเห็นชอบดังกล่าว ควรจะทำความเข้าใจและสร้างการรับรู้เกี่ยวกับข้อมูลความเสี่ยงสำคัญที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของกิจการอย่างเพียงพอด้วย

(2)  คณะกรรมการบริษัทควรจะกำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ในระดับในระดับองค์กรโดยรวมอย่างชัดเจนและสื่อสารให้ผู้บริหารระดับสูงของกิจการรับทราบ

(3)  คณะกรรมการบริษัทควรจะมอบหมายและติดตามว่าผู้บริหารระดับสูงได้ดำเนินการตามความจำเป็นในการค้นหา ระบุ วัดผล ติดตามและควบคุมความเสี่ยงสำคัญที่คณะกรรมการได้มอบหมายและมรการจัดทำระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล และให้มีการใช้บังคับจริงในภาคปฏิบัติ

(4)  คณะกรรมการควรจะกำหนดกรอบการกำกับดูแลกิจการที่ดี ให้แนวทางที่ควรจะดำเนินการและติดตามการดำเนินงานของผู้บริหารระดับสูงในภาพรวมที่เกี่ยวข้อง

(4.1) ประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายในที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

(4.2) ทบทวนและมรการประเมินผลของการนำการควบคุมภายในใช้ในภาคปฏิบัติ

(4.3) การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมการควบคุมภายในตามความเห็นของผู้ตรวจสอบภายในและผู้ตรวจสอบภายนอก หรือผุ้สอบบัญชีในประเด็นที่ยังเป็นจุดอ่อนของการควบคุมภายใน

(5)  คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงควรมีความรับผิดชอบร่วมกันในการส่งเสริมการใช้มาตรฐานด้านจริยธรรมและความซื่อสัตย์ ตลอดจนปลูกฝั่งวัฒนธรรมภายในกิจการที่เน้นหนักและแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างถึงการให้ความสำคัญกับการควบคุมภายใน โดยบุคลากรทุกคนต้องมีความเข้าใจในบทบาทของตนในกระบวนการควบคุมภายใน และนำเอาการควบคุมภายในไปใช้กำกับงานของตนอย่างเหมาะสม

(6)  บุคลากรต้องสามารถอธิบายการควบคุมภายในที่ใช้กำกับงานของตนได้ และต้องมีความสอดคล้องกับระบบการควบคุมภายในขององค์กร ควบคู่กับการช่วยเหลือและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง และให้เบาะแสแก่ผู้บริหาร กรณีที่พบปัญหาในการดำเนินงาน การปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ การกระทำที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นภายในองค์กร และมรการสื่อสารอย่างชัดเจนว่าการปกปิดข้อมูล การกระทำผิดของบุคคลอื่นถือว่าเป้นความผิดด้วย

บทเรียนที่เรียนรู้จากความล้มเหลวที่เกิดในอดีต

(1)   วัฒนธรรมด้านการควบคุมภายในของกิจการไม่เข้มแข็ง ซึ่งมาจากการที่

(1.1) คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหารระดับสูงล้มเหลวในการบกระดับการควบคุมภายในขึ้นมามีความสำคัญ

(1.2) ขาดคำพูด การกระทำ ตัวอย่าง เงื่อนไขและการสื่อสารที่ทำให้บุคลากรในองค์กรต้องปฏิบัติตามผู้นำในด้านการควบคุมภายในในการปฏิบัติงาน

(1.3) ขาดความเชื่อมความเชื่อมโยงระหว่างผลสำเร็จหรือความล้มเหลวของการควบคุมภายในกับการประเมินผลการปฏิบัติงานและระบบแรงจูงใจและผลตอบแทนการปฏิบัติงาน

(2)   ผู้บริหารระดับสูงไม่ได้จัดวางโครงสร้างองค์กร การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารและการปฏิบัติงานให้มีการกำกับด้วยการควบคุมภายในที่ชัดเจน โดยเฉพาะหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานการกำกับระบบการควบคุมภายใน

(3)  ผู้บริหารระดับสูงไม่ได้วางเงื่อนไขในการจัดทำระบบรายงานและMISที่จะใช้ประกอบกับการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ เพิ่มกิจกรรมการควบคุมภายในเพิ่มเติม

(4)  ผู้บริหารระดับสูงไม่ได้กำหนดระบบแรงจูงใจและผลตอบแทนในการปฏิบัติงานที่ต้องการควบคุมภายในในการแก้ไขปัญหา และผลงานด้านการพัฒนาและต่อยอดการควบคุมภายในจนทำให้ผลการดำเนินงานลุล่วงตามเป้าหมาย หรืองานการควบคุมภายในไม่ใช่เป้าหมายการปฏิบัติงาน

(5)  ผู้บริหารระดับสูงไม่ได้วางกฎเกณฑ์หรือมอบหมายอย่างชัดเจนและเข้มงวดกับการที่ทุกฝ่ายงานและเจ้าของงานทุกคนจะต้องทำการปรับปรุงระบบการควบคุมภายในของตนตามความเห็นของผลการตรวจสอบภายในโดยเคร่งครัด

(6)  คำอธิบายลักษณะงานในแต่ละตำแหน่งไม่ได้ระบุข้อความท่าเกี่ยวข้องกับ “การกำกับตนเองด้านการควบคุมเพื่อให้ผลการปฏิบัติงานลุล่วงและบรรลุผลสำเร็จ” และไม่ถือว่าการพัฒนาสมรรถนะในการพัฒนาตนเองด้านการกำกับและควบคุมงานเป็นส่วนหนึ่งของCompetency รายบุคคล

 

สนใจเชิญบรรยายหัวข้อนี้ติดต่อ sumetheeprasit@hotmail.com

 

 

มีนาคม 22, 2014 Posted by | ไม่มีหมวดหมู่ | , , | ใส่ความเห็น

Risk – Based Internal Control Perspective การควบคุมภายในบนฐานความเสี่ยง-เรื่องที่ 380

อาจารย์ จิรพร  สุเมธีประสิทธิ์

sumetheeprasit@hotmail.com

https://chirapon.wordpress.com

แม้ว่ากิจการจะมีความแตกต่างกันในด้านรูปแบบ สไตล์ของการดำเนินธุรกิจ  การบริหารจัดการธุรกิจและการกำกับดูแลกิจการย่อมจะไม่เหมือนกัน  การวางระบบการควบคุมภายในของแต่ละกิจการจึงขึ้นอยู่กับว่าสถานะความเสี่ยงที่กิจการนั้น ๆ เผชิญหน้าอยู่เป็นอย่างไร

การควบคุมภายในตามฐานความเสี่ยงที่กิจการรับรู้ (Risk-based Internal Control Perspective) จึงเป็นเรื่องของการสร้างความแตกต่างของระบบการกำกับการดำเนินงานที่จะควบคุมให้กิจการประสบกับความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้  มีเสถียรภาพของผลการดำเนินงาน ไม่ผันผวนขึ้นลงแบบไร้ทิศทาง ปรับปรุงความรับผิดชอบของบุคลากรทุก ๆ คนให้ดีขึ้น และใช้สามัญสำนึกเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพพึงปฏิบัติในการดำเนินงานมากขึ้น

ฐานความเสี่ยงเข้าไปเกี่ยวข้องกับการควบคุมภายในเพราะการปฏิบัติงานในแต่ละกิจการมีความไหวตัวต่อความผิดพลาด บกพร่อง ฝ่าฝืน และการทุจริตแตกต่างกัน งานบางงานไม่จำเป็นต้องมีการควบคุมและกำกับแบบเข้มงวดมาก แต่งานบางงานต้องใช้การกำกับและควบคุมแบบเข้มงวดกวดขัน ห้ามฝ่าฝืน ห้ามละเลย เพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานจะไปตามผลที่คาดหวังไว้ 

ฐานความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับระบบการควบคุมภายใน ได้แก่

ฐานความเสี่ยงที่ 1 ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) คือ ความเสี่ยงที่ผลการดำเนินงานจะออกมาในทางลบอันเนื่องมาจากการวางนโยบาย การกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจและวิธีการดำเนินธุรกิจ ที่มีปัจจัยความเสี่ยงหรือเงื่อนไขจากภายในหรือภายนอกกิจการตัวอย่างของความเสี่ยงทางธุรกิจ ได้แก่ ความเสียหายของสินค้าคงเหลือ หรือคลังสินค้า เนื่องจากอัคคีภัย หรือการโจรกรรม  ความล้มเหลวของการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อขยายตลาดจุดประสงค์ของการวางระบบการควบคุมภายในในส่วนของความเสี่ยงทางธุรกิจ คือ การจัดวางกระบวนการในการกำกับและติดตามการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างถูกต้อง และแก้ไขประเด็นหรือการกระทำที่ไม่ถูกต้อง 

ตัวอย่างของการควบคุมภายใน ได้แก่

–  การเพิ่มมาตรการการควบคุมคลังสินค้า

–  การทำการสำรวจและวิจัยตลาดก่อนออกสินค้าใหม่

ฐานความเสี่ยงที่ 2 ความเสี่ยงด้านรายงานทางการเงิน (Financial reporting risk) อาจจะมองว่าเป็นส่วนย่อยของความเสี่ยงทางธุรกิจ ที่เกิดจากการที่กิจการจัดทำรายงานทางการเงินที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ไม่ครบถ้วน เช่น-  การประเมินการด้อยค่าของสินทรัพย์ไม่เป็นปัจจุบัน-  การตั้งสำรองเผื่อการด้อยค่าไม่ครบถ้วน

–  การใช้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องในการบันทึกรายการทางการเงิน

ตัวอย่างของการควบคุมภายในที่นิยมใช้ได้แก่

–  การแยกหน้าที่ความรับผิดชอบในกระบวนการจัดทำรายงานทางการเงินไม่ให้อยู่ที่คนเดียว

–  การวางระบบกระทบยอดเพื่อตรวจสอบความถูกต้องตรงกันของตัวเลขในบัญชีเงินฝากและการเคลื่อนไหวจริงของรายการ

–  การวางระบบการลงลายมือชื่อ 2 คนพร้อมกันเพื่อให้ช่วยกันสอบทานรายการ

–  การแยกหัวบัญชีในการบันทึกรายการที่เหมาะสม

–  การแยกคนทำรายการ คนตรวจสอบ และคนที่อนุมัติให้เป็นต่างคนกัน

ฐานความเสี่ยงที่ 3 ความเสี่ยงจากการทุจริต (Fraud Risk) เป็นความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการที่บุคลากรมีการกระทำที่ไม่ชอบ ทุจริตต่อหน้าที่ ทำให้กิจการเกิดความเสี่ยหายทั้งในรูปของตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน เช่น ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ของกิจการตัวอย่างการควบคุมภายในที่ใช้-  การกำหนดจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานที่เน้นจริยธรรม

–  การวางระบบการสอบทานการปฏิบัติงานของพนักงานจากคนภายนอกหน่วยงาน เช่น ระบบการตรวจสอบภายใน ระบบการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบภายนอก

ฐานความเสี่ยงที่ 4 ความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการจัดโมเดลทางธุรกิจและโครงสร้างทางธุรกิจการควบคุมภายในที่กิจการใช้อยู่ คือ การจัดวางโครงสร้างองค์กร การจัดทำภาระหน้าที่รายฝ่ายงาน การกำหนดคำอธิบายลักษณะงาน (Job Description) รายตำแหน่งงาน และการไหลของงานภายในองค์กร
ฐานความเสี่ยงที่ 5 ความเสี่ยงด้าน IT เป็นความเสี่ยงทางด้านเทคโนโลยี และระบบงานที่กิจการนำมาใช้โดยมีเงื่อนไขการทำงานที่กำหนดไว้แล้วในระบบ และทางเทคนิค และไม่มีบุคลากรอื่นที่เห็นการทำงาน ทำให้มีสภาพเหมือนกับกล่องดำ (Black box) ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป เงื่อนไขและการทำงานของระบบงานอาจจะไม่เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจตัวอย่างของแนวทางการควบคุมภายใน คือ-  การมีระบบการตรวจสอบ IT ที่เข้มแข็ง

–  การมีระบบการประเมินการใช้งานของผู้ใช้

–  การใช้ Log file ในการตรวจสอบความผิดปกติของการทำงานจากระบบงาน

ฐานความเสี่ยงที่ 6 การกำกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ (Compliance Risk) ที่กำหนดมาจากหน่วยงานที่กำกับกิจการ และที่กิจการกำหนดเป็นเกณฑ์ในระดับองค์กรตัวอย่างเช่น ความเสี่ยงจากการที่หน่วยงานกำกับได้ออกกฎเกณฑ์ใหม่มาใช้ปฏิบัติ และกิจการต้องดำเนินการตามให้ครบถ้วน เช่น การออก พรบ.ความผิดที่เกี่ยวข้องกับการคอมพิวเตอร์ การปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณภาษีของกรมสรรพากร
ฐานความเสี่ยงที่ 7 ความเสี่ยงตามความซับซ้อน ขนาดของกิจกรรม ซึ่งภายในกิจการเดียวกันอาจจะมีความแตกต่างของกิจกรรมในแต่ละสายงาน แต่ละพื้นที่ แต่ละตลาด แต่ละกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน ทำให้การควบคุมภายในต้องมีการออกแบบและจัดวางให้เหมาะสมกับฐานความเสี่ยงดังกล่าว
ฐานความเสี่ยงที่ 8 ความเสี่ยงด้านการหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจ และการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ เป็นความเสี่ยงที่มาจากการเกิดพิบัติภัยหรืออุบัติการณ์ร้ายแรงภายนอกกิจการ

สนใจเชิญบรรยายหัวข้อนี้ติดต่อ sumetheeprasit@hotmail.com

ตุลาคม 10, 2012 Posted by | ไม่มีหมวดหมู่ | , , , , , , | ใส่ความเห็น