Risk Management Forum

ศูนย์ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ การบริหารจัดการความเสี่ยง ควบคุมภายใน ตรวจสอบ Compliance

เรื่องที่ 4029 กรอบแนวปฏิบัติที่ดีใหม่ COSO ICSR เตรียมรับมือควบคุมที่ต้องเปิดเผยรายงานด้านความยั่งยืน ตอนที่ 3/5 (ประยุกต์ใช้ 5 องค์ประกอบ 17 หลักการ)

อาจารย์ จิรพร  สุเมธีประสิทธิ์

https://chiraporn.wordpress.com

องค์ประกอบที่ 5 มีกระบวนการด้านการติดตาม วัดผลและประเมินผลการดำเนินงาน

  1. กำหนดกระบวนการในการติดตามประเมินผล ทั้งที่ดำเนินการในลักษณะต่อเนื่องสม่ำเสมอ และการประเมินอิสระที่แยกต่างหาก
  2. ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องจัดทำข้อมูลผลการติดตามและประเมินผล เพื่อนำไปสู่การจัดทำรายงานที่เหมาะสม
  3. มีกระบวนการในการติดตาม การวัดผล และระบบการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ เพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพของ
  4. ความสามารถประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงาน
  5. ติดตามรับรู้ความผิดปกติเพื่อดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องได้ทันท่วงที
  6. สามารถส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมและการดำเนินงานด้านการควบคุมภายในที่พึงประสงค์
หลักการที่รายละเอียดของหลักการ และ การประยุกต์ใช้กับ ICSRประเด็นมุ่งเน้น Points of Focus
16กำหนดกระบวนการในการติดตามประเมินผล ทั้งที่ดำเนินการในลักษณะต่อเนื่องสม่ำเสมอ และการประเมินอิสระที่แยกต่างหาก (Conduct ongoing and/or separate evaluations) อุปกรณ์ต้องทำการคัดเลือก พัฒนา และกำหนดให้มีการประเมินผล ทั้งในลักษณะที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และการประเมินอิสระที่แยกต่างหาก เพื่อให้มั่นใจว่า องค์ประกอบของการควบคุมภายในยังคงมีอยู่ และใช้ได้ผลพิจารณาใช้การประเมินผลที่ผสมผสานกันและวางการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และการประเมินผลที่เป็นอิสระแยกต่างหากให้เกิดความเหมาะสมพิจารณาติดตามและประเมินผลโดยดูจากอัตราหรือลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญจัดวาง Baseline เพื่อเป็นฐานและค่าตั้งต้น สำหรับใช้ในการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกำหนดกิจกรรมการติดตามและประเมินผลโดยบุคคลากรที่มีองค์ความรู้ และคุณสมบัติที่เหมาะสมดำเนินกิจกรรมติดตามและประเมินผล ที่บูรณาการ ในระหว่างการปฏิบัติงาน และดำเนินธุรกิจตามปกตินำผลที่ได้จากการติดตามและประเมิน ทำการปรับปรุงขอบเขตและความถี่ของการติดตามและประเมินให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพื่อให้การติดตามและประเมินผลเป็นไปอย่างเที่ยงธรรม ปราศจากการเบี่ยงเบนหรือเอนเอียง
 การประยุกต์ใช้กับ ICSR เมื่อองค์กรได้เริ่มมอบหมายและสั่งการให้มีการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องแล้ว จำเป็นต้องมีการทบทวนโครงสร้าง ภาพในองค์รวม และกระบวนการที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ เพื่อให้มั่นใจว่า ยังคงมีความเพียงพอในการอำนวยความสะดวก และสร้างความ สามารถการดำเนินการควบคุมภายในที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ผลดำเนินงานด้านความยั่งยืน แดนทบทวนและประเมินผลดังกล่าว อาจจะทำได้โดย กำหนดเป็นตารางการดำเนินการ มีความถี่ที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ จัดให้มีการประเมินผลอย่างอิสระแยกต่างหากตามความจำเป็น
17สรุปผลที่ได้จากการประเมิน และสื่อสารประเด็นที่พบเป็นจุดอ่อนต้องมีการแก้ไขปรับปรุง (Evaluate and communicate deficiencies) องค์กรต้องจัดทำสรุปผล ให้ได้ผลลัพธ์จากการประเมิน และทำการสื่อสาร จุดอ่อนและข้อบกพร่องของการควบคุมภายใน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงอย่างทันท่วงที ครอบคลุม (ก) ผู้ที่รับผิดชอบหลักต้องดำเนินการแก้ไขโดยตรง  (ข) การบริหารเชิงนโยบายของผู้บริหารระดับสูง และ (ค) การกำกับดูแลภาพรวมของคณะกรรมการตามความเหมาะสมกำหนดกรอบ เนื้อหา องค์ประกอบของการรายงานผลการประเมิน ประสิทธิผลของการควบคุมภายใน เพื่อให้เกิดการรายงานผลที่เป็นประโยชน์ทำการสื่อสารส่วนที่เป็นจุดอ่อนและต้องมีการแก้ไขปรับปรุงแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับทำการติดตามและประเมินผลหลังการสื่อสาร ว่าผู้ที่รับผิดชอบหลักได้มีการทำกิจกรรมจริงในการแก้ไขและปรับปรุงจุดอ่อนดังกล่าว
 การประยุกต์ใช้กับ ICSR เมื่อองค์กรได้มีการทบทวน และประเมิน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ (ก) โครงสร้าง การควบคุมภายใน (ข) นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมภายใน และการขับเคลื่อนกิจกรรมการควบคุมภายใน (ค) ขั้นตอนการปฏิบัติงานและระเบียบปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมภายใน เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานด้านความยั่งยืน องค์กรจำเป็นต้องสื่อสารสิ่งที่ค้นพบ โดยเฉพาะจุดที่เป็นข้อบกพร่องและจุดอ่อนต้องมีการแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทุกระดับ ต้องทำการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ด้านการควบคุมภายใน เพื่อเพิ่มความพอเพียงและประสิทธิผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ ของการดำเนินงานด้านความยั่งยืน

พฤษภาคม 2, 2024 - Posted by | ไม่มีหมวดหมู่

ยังไม่มีความเห็น

ใส่ความเห็น