Risk Management Forum

ศูนย์ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ การบริหารจัดการความเสี่ยง ควบคุมภายใน ตรวจสอบ Compliance

แนวทางการจัดทำบทเรียนจากการเรียนรู้หลังการดำเนินงานโครงการ (เรื่องที่ 152)

อาจารย์ จิรพร สุเมธีประสิทธิ์

www.interfinn.com

chirapon.wordpress.com

หลังจากที่กิจการได้ดำเนินโครงการเพื่อการแก้ไขหรือตอบสนองต่อปัญหาและความจำเป็นบางประการแล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ ตลอดจนผู้ประเมินผลโครงการ และผู้ตรวจสอบภายในควรจะพยายามจัดทำบทเรียนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินโครงการที่จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการในอนาคต

ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนข้อจำกัดที่สำคัญในการจัดทำบทเรียนที่ได้เรียนรู้จากการดำเนินโครงการ คือ ผู้ที่ต้องจัดทำบทเรียนขาดทักษะ องค์ความรู้ที่จะใข้ในการจัดทำไม่เพียงพอ

นิยาม

บทเรียนที่เรียนรู้จากการดำเนินโครงการคือ การเรียนรู้ที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการในการดำเนินงานโครงการใด ๆ ในทางทฤษฎีบทเรียนที่เรียนรู้จากการดำเนินโครงการ จึงมักจะจัดทำเมื่อกิจการได้ปิดตัวโครงการไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ หรืออาจจะเรียนรู้ในช่วงที่โครงการใกล้จะเสร็จสิ้นก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติการจัดทำบทเรียนที่เรียนรู้จากการดำเนินโครงการจะจัดทำเมื่อใดก็ได้ตลอดอายุของโครงการ

จุดประสงค์

จุดประสงค์หลักของการจัดทำบทเรียนที่เรียนรู้จากการดำเนินโครงการคือ การจัดทำเอกสารที่เป็นบทสรุปอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อจะใช้เป็นสื่อสารในการแบ่งปันและนำเอาเป็นองค์ความรู้ที่มาจากประสบการณ์การดำเนินโครงการจริง อันจะช่วย

(1)   ส่งเสริมการปรับตัวไปสู่แนวทางที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง

(2)   หลีกเลี่ยงกิจกรรม วิธีการที่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ ตลอดจนผลกระทบทางลบ 

ดังนั้น ในภาคปฏิบัติ บทเรียนที่เรียนรู้จากการดำเนินโครงการ จึงควรจะรวมเอากระบวนการที่จำเป็นที่จะนำไปสู่การระบุ การจัดทำเป็นเอกสาร การให้ความเห็นด้วยความเที่ยงตรง และการนำเสนอเพื่อให้เกิดเป็นบทเรียนที่จะเรียนรู้ให้ครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้อง และเกิดการแบ่งปันองค์ความรู้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการกำหนดให้มีบทเรียนที่เรียนรู้จากการดำเนินโครงการ และนำปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่พฤติกรรมพึงประสงค์ และท้ายที่สุด บทเรียนที่เรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของแผนบริหารความเสี่ยงงานโครงการในอนาคต

คำถามเพื่อนำสู่การสร้างบทเรียน

คำถามที่ 1      บทเรียนโดยทั่วไปเกี่ยวกับการดำเนินโครงการนั้น ๆ คืออะไร

คำถามที่ 2      บทเรียนด้านการบริหารโครงการมีประเด็นใดบ้าง

คำถามที่ 3      บทเรียนด้านการสื่อสารงานโครงการทั้งภายในและภายนอกโครงการมีประเด็นใดบ้าง

คำถามที่ 4      บทเรียนด้านการบริหารงบประมาณโครงการมีประเด็นใดบ้าง

คำถามที่ 5      บทเรียนด้านการจัดซื้อจัดจ้างมีประเด็นใดบ้าง

คำถามที่ 6      บทเรียนด้านการทำงานร่วมกันระหว่างผู้รับผิดชอบโครงการกับผู้บริหารระดับสูงที่มีหน้าที่สนับสนุน (Sponsor) มีอะไรบ้าง

คำถามที่ 7      บทเรียนด้านการทำงานร่วมกันระหว่างผู้รับผิดชอบโครงการกับกลุ่มเป้าหมายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีประเด็นใดบ้าง

คำถามที่ 8      บทเรียนในประเด็นที่เป็นส่วนที่ดีและพึงประสงค์จากโครงการมีประเด็นใดบ้าง

คำถามที่ 9      บทเรียนในประเด็นที่เป็นส่วนที่ไม่ดีและไม่พึงประสงค์จากโครงการมีประเด็นใดบ้าง

คำถามที่ 10     บทเรียนที่เป็นประเด็นจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงมีอะไรบ้าง

คำถามที่ 11     บทเรียนด้านทรัพยากร (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Output) และผลลัพธ์/ผลกระทบ (Outcomes/Impact) มีอะไรบ้าง

คำถามที่ 12     บทเรียนด้านประเด็นการยุติ/ระงับโครงการ (ถ้ามี)

ในเอกสารที่เป็นบทเรียนจะแสดงทั้งประสบการณ์ทางบวก เป็นแนวคิดที่ดีที่จะเป็นช่องทางในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพหรือประหยัดต้นทุนในการดำเนินโครงการ และประสบการณ์ทางลบ เป็นบทเรียนเพื่อเรียนรู้หลังจากที่เกิดผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์นั้นแล้วกับโครงการที่ประเมินผลอยู่

ในแต่ละโครงการที่สร้างบทเรียนที่เรียนรู้จากการดำเนินโครงการควรประกอบด้วยองค์ประกอบโดยทั่วไป 3 ประการ ได้แก่

(1)   ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการเพิ่มเติม

(2)   สถานะที่เป็นบทเรียนเพื่อการเรียนรู้ที่มีความชัดเจน

(3)   บทสรุปพื้นฐานของการเรียนรู้จากบทเรียน

(4)   ประโยชน์ของการใช้บทเรียนและข้อเสนอแนะวิธีการนำประเด็นที่เรียนรู้ไปใช้ในอนาคต

ไม่ว่าจะเป็นช่วงใดของวงจรอายุของโครงการ ผู้ประเมินโครงการสามารถระบุบทเรียนได้ทั้งสิ้น หากพบว่ามีประเด็นที่ควรค่าแก่การเรียนรู้  แต่ถ้าเมื่อใดที่จัดทำบทเรียนหลังจากโครงการเสร็จสิ้นแล้ว มักจะพยายามหาทางระบุบทเรียนเกี่ยวกับความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของโครงการ รวมทั้งความคิดเห็นเพื่อการปรับปรุงผลการดำเนินงานของโครงการอื่น ๆ ในอนาคต

ประเด็นที่ผู้ประเมินควรจะคำนึงถึงในการดำเนินงานของโครงการเมื่อเสร็จสิ้น

ประเด็นที่ 1   ผลผลิตที่โครงการได้ส่งมอบบรรลุตามความต้องการความคาดหวัง ตลอดจนเป้าหมายของโครงการหรือไม่

ประเด็นที่ 2   ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการมีความพอใจกับผลผลิตสุดท้ายของโครงการหรือไม่ เพราะเหตุใด

ประเด็นที่ 3   โครงการสามารถบริหารต้นทุนโครงการให้อยู่ภายในวงเงินที่ได้รับอนุมัติหรือไม่ เพราะเหตุใด

ประเด็นที่ 4   โครงการสามารถดำเนินงานได้เสร็จสิ้นภายในกรอบเวลาที่กำหนดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ประเด็นที่ 5   โครงการสามารถระบุความเสี่ยงและจัดการความเสี่ยงที่สำคัญได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

ประเด็นที่ 6   วิธีการและกระบวนการในการบริหารโครงการใช้ได้ผลหรือไม่ เพราะเหตุใด

ประเด็นที่ 7  สิ่งใดที่ควรจะดำเนินการเพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินโครงการ

ประเด็นที่ 8     ประเด็นใดที่ยังเป็นคอขวดและอุปสรรคสำคัญที่กระทบต่อโครงการ

ประเด็นที่ 9     ประเด็นในด้านแนวทางปฏิบัติใดที่ควรจะนำไปใช้ในโครงการอื่นในอนาคต

ประเด็นที่ 10    ประเด็นใดที่ควรจะเกิดกับโครงการในอนาคตเพื่อสนับสนุนความสำเร็จ

จุดประสงค์สำคัญของบทเรียนที่จะเรียนรู้ด้านการดำเนินโครงการคือ การให้ข้อมูลแก่ผู้ที่อาจจะเป็นผู้รับผิดชอบโครงการในอนาคต ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพ และเสริมสร้างประสบการณ์ที่ได้มาจากโครงการที่ดำเนินการแล้ว ขณะเดียวกันก็เป็นองค์ความรู้ที่ควรนำไปแลกเปลี่ยนและแบ่งปันกัน เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงาน การปฏิบัติงาน คุณภาพ ความปลอดภัย และต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ และช่วยปรับปรุงการตัดสินใจด้านการบริหารให้ดีขึ้นในแต่ละช่วง (phase) ของโครงการ

แนวปฏิบัติที่ดี

ข้อเสนอแนะจากผู้ประเมินที่มีประสบการณ์และได้รับการยอมรับว่าเป็นแนวคิดของแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ที่นำสู่การพัฒนาบทเรียนเพื่อการเรียนรู้ที่ดี ได้แก่

(1)   ควรรวมประสบการณ์ทั้งหมดให้ครบถ้วน – บทเรียนเพื่อการเรียนรู้การแสดงประสบการณ์ทั้งทางบวกและทางลบ

(2)   จัดทำอย่างรวดเร็วทันกาล – บทเรียนเพื่อการเรียนรู้จะเป็นข้อมูลป้อนกลับ (feedback) จึงต้องเร่งจัดทำให้รวดเร็วเท่าที่จะทำได้เพื่อป้องกันการลืมเลือน

(3)   จัดเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูล หรือรูปแบบที่จะใช้เรียนรู้ได้

(4)   ส่งต่อให้ถึงโครงการอื่น ๆ ในอนาคต

(5)   สั่งสมบทเรียน – บทเรียนเพื่อการเรียนรู้ควรถือเป็นข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ของโครงการ และสั่งสมไว้ในองค์กร

(6)   การเผยแพร่ให้ผู้ที่รับผิดชอบโครงการและการบริหารโครงการอย่างทั่วถึง

(7)   ครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการครบถ้วน – ผู้ที่มีส่วนร่วมในโครงการและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการทุกภาคส่วน

(8)   ตั้งเป้าหมายบทเรียน – เพื่อความสำเร็จของโครงการอื่น ๆ ในอนาคต

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องในภาคปฏิบัติ

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบทเรียนเพื่อการเรียนรู้ ได้แก่

(1)   ระบุที่ชัดเจนว่า บทเรียนใดที่มีการเรียนรู้จากโครงการ

(2)   ณ จุดสุดท้ายของโครงการจะต้องมีการจัดบทเรียนทุกครั้ง

(3)   จัดทำบทเรียนที่เรียนรู้เป็นลายลักษณ์อักษร

(4)   สั่งสมเป็นองค์ความรู้ขององค์กร

(5)   จัดเก็บเป็นประวัติของการดำเนินโครงการ

พฤษภาคม 3, 2011 Posted by | ไม่มีหมวดหมู่ | , , , , , , , , , , , , , | ใส่ความเห็น

การจัดทำรายงานการประเมินผลโครงการที่เป็นมูลค่าเพิ่ม (เรื่องที่ 151)

อาจารย์  จิรพร  สุเมธีประสิทธิ์

www.interfinn.com

http://chiraporn.wordpress.com

 รายงานการประเมินผลโครงการเป็นองค์ประกอบสำคัญมากเพื่อนำส่งผลการประเมินเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายต่อไป  โดยที่รายงานการประเมินผลโครงการ

(1)   เป็นการรวบรวมสิ่งที่เกิดขึ้นกับโครงการ ภาพรวม ผลงานทั้งหมดที่ได้จากการดำเนินงานโครงการ

(2)   เป็นเอกสารที่นำเสนอผลการคำนวณ ผลลัพธ์ และข้อมูลตัวเลขทั้งหมดที่เกิดจริงกับการดำเนินโครงการ

(3)   เป็นบทสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ซึ่งมาจากโครงการและนำเอาไปใช้ต่อไปได้ในอนาคตและวิธีการในการค้นพบประเด็นต่างๆ ที่นำมาสู่การเรียนรู้

(4)   เป็นสิ่งที่บ่งชี้งานที่ยังทำไม่สำเร็จและประเด็นที่ควรจะมีการดำเนินงานในระยะต่อไปเพื่อปรับปรุงโครงการ

(5)   เป็นเอกสารที่มาจากค้นหาปัญหาและอุปสรรคที่ขัดขวางผลสำเร็จของโครงการ

การจัดระดับความเหมาะสมในแต่ละส่วนของรายงาน

เพื่อให้มีการปรับปรุงและยกระดับรายงานการประเมินผลโครงการให้ดีและสมบูรณ์ขึ้น  โดยอาจจะมีแนวทางการพิจารณา ดังนี้

Rating

ช่วงคะแนน

คำอธิบายเงื่อนไขในการให้คะแนน

ยอดเยี่ยม

81-100

  1. แต่ละส่วนของรายงานมีความถูกต้องในรายละเอียดทางเทคนิค
  2. รายงานครอบคลุมเงื่อนไขทั้งหมดที่มีการจัดเป็นรายการไว้แล้วในรายละเอียดของกาจัดทำรายงานประเมินผลโครงการ
  3. มีการใช้หลักไวยกรณ์สำนวนภาษาที่ถูกต้อง
  4. ตัวเลขที่ใช้ในรายงานมีแหล่งที่มาเชื่อถือได้ และสะท้อนผลการดำเนินโครงการหรือมีผลการคำนวณที่ชัดเจน และเห็นผลดำเนินงานได้ง่าย
ดี

61-80

  1. องค์ประกอบส่วนใหญ่ของรายงานมีความถูกต้องด้านรายละเอียดทางเทคนิค มีความขาดตกบกพร่องเพียงเล็กน้อย
  2. รางานครอบคลุมเงื่อนไขทั้งหมดที่มีการจัดเป็นรายการไว้แล้ว แม้ว่าจะมีรายละเอียดบางประเด็นขาดหายไป
  3. ยังมีความผิดพลาดด้านการใช้หลักไวยกรณ์บ้าง
  4. ตัวเลขที่ใช้ในรายงานมีแหล่งที่มาเชื่อถือได้ และสะท้อนผลการดำเนินโครงการหรือมีผลการคำนวณที่ชัดเจน และเห็นผลดำเนินงานได้ง่าย
พอใช้

1-61

  1. องค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 1 รายการ
  2. รายงานครอบคลุมเงื่อนไขส่วนใหญ่ที่มีการจัดเป็นรายไว้แล้ว แม้ว่าจะมีรายการบางส่วนที่ขาดหายไป
  3. ยังมีความผิดพลาดด้านการใช้หลักไวยกรณ์
  4. ตัวเลขที่ใช้ในรายงานอาจจะมีแหล่งที่มาบางส่วนไม่น่าเชื่อถือ และอาจะไม่ชัดเจนด้านการสะท้อนผลการดำเนินงานของโครงการ
ยอมรับไม่ได้

0

  1. องค์ประกอบทางเทคนิคมีความคลาดเคลื่อนผิดพลาดทำให้ผลของรายงานเป็นปัญหา
  2. รายงานทำให้เกิดความเข้าใจผิด
  3. รายงานยังไม่ครอบคลุมเงื่อนไขส่วนใหญ่ที่มีการจัดเป็นรายการไว้แล้ว
  4. มีความผิดพลาดด้านการใช้หลักไวยกรณ์หลายที่จนกระทบต่อความน่าเชื่อถือ และความสามารถในการอ่านรายงาน
  5. ตัวเลขไม่สมบูรณ์มีการขาดหายไปหลายส่วน
  6. มีการคัดเลือกหรือแก้ไขงานเขียนมาจากรายงานอื่น โดยไม่เหมาะสม

 เนื้อหาสาระของรายงาน

เพื่อให้ได้องค์ประกอบที่ดีของรายงานการประเมินผลโครงการ/จะเป็นจะต้องพิจารณาจาก ประกอบด้วย 3 ส่วน เพื่อนำไปสู่การจัดระดับความเหมาะสมของรายงานการประเมินผลโครงการ ได้แก่

(1)   รายงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่นำเสนอตามรูปแบบรายงานการประเมินผลโครงการและมีรายละเอียดของรายการ (listing) ตามรายงการที่ระบุด้านล่าง

(2)   เอกสารที่ออกต่างหาก มีความยาวไม่เกิน 1 หน้า ระบุความเห็นของทีมงานประเมินผลว่าได้เรียนรู้อย่างไรบ้างจากการประเมินโครงการ และความเห็นเชิงสร้างสรรค์และเป็นมูลค่าเพิ่มแก่หน่วยงาน ทีมงานประเมินผลคนใดที่ไม่ได้แสดงความเห็นจะได้เกรดเป็น 0 ไว้ก่อนจนกว่าจะมีความเห็นมาประกอบครบถ้วน

(3)   การนำเสนอเกี่ยวกับประเด็นของโครงการที่เกี่ยวกับข้อมูลที่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจในระยะต่อไป

องค์ประกอบของรายงานที่ควรจะใช้ในการประเมินมี 8 ประเด็นหลัก ซึ่งได้แสดงตัวอย่างของการให้คะแนนหรือน้ำหนักความสำคัญไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงความเหมาะสมกับงานการประเมินผลโครงการต่อไป

ประเด็น

น้ำหนักจาก
 
250 คะแนน

คำอธิบายแต่ละประเด็น

บทสรุป

10

เป็นการนำเสนอบทสรุปสั้นๆ และกระชับเกี่ยวโครงการทั้งหมด เพื่อให้ผู้ที่อ่านรายงานการประเมินผลโครงการได้เกิดความเข้าใจประเด็นที่ได้จากการประเมินผลโครงการ ผู้อ่านส่วนใหญ่คือผู้บริหาร
ขอบเขตของโครงการ

30

เป็นการนำเสนอภาพรวมของสิ่งที่จะทำหรือขอบเขตเกี่ยวกับตัวโครงการ สิ่งที่โครงการจะดำเนินงานและเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานจริงว่าครอบคลุมขอบเขตตามที่ระบุไว้หรือไม่โดยเฉพาะ-  วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการและการดำเนินโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่

–  รายการที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านขอบเขตหรือทิศทางของโครงการ และความจำเป็นที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในขอบเขตของตัวโครงการ

–   ระบุว่ามีงานที่ดำเนินงานจริงเกินกว่าข้อเสนอโครงการในขั้นตอนการขออนุมัติ เป็นประเด็นที่เกินกว่าที่ระบุไว้ หรือเป็นประเด็นที่มีการค้นพบใหม่ระหว่างดำเนินโครงการหรือไม่ อย่างไร

คำอธิบายทางเทคนิค

50

เป็นการรายงานรายละเอียดทางเทคนิคเชิงลึกของโครงการ ซึ่งควรจะมีรายละเอียดอย่างเพียงพอที่จะทำให้ผู้ที่มีความรอบรู้ทางเทคนิคจะมีรายละเอียดอย่างเพียงพอที่จะทำให้ผู้ที่มีความรอบรู้ทางเทคนิคเกิดความเข้าใจและนำไปปรับปรุงกิจกรรมทางเทคนิคของโครงการต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง-   รายการอุปกรณ์ เครื่องมือ  เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโครงการ

–   องค์ความรู้ซึ่งมีลักษณะเป็นทรัพยากรทางเทคนิคที่สำคัญที่บุคลากรทุกคนในโครงการต้องมีเพื่อใช้เป็นเทคนิคในการดำเนินโครงการ

–  ประเด็นหรือมิติเชิงวิกฤติที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับโครงการ

–  คู่มือ แนวปฏิบัติทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับโครงการ

–  สิ่งใดที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นทางเทคนิคที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานจริงของโครงการ

คุณลักษณะพึงประสงค์ด้านผลการดำเนินงาน

50

เป็นการเปรียบเทียบโดยใช้โมเดลเชิงสมการหรือโมเดลเชิงวิเคราะห์เทียบกับผลที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นการชี้ความแตกต่างของผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณทางทฤษฎีกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินงานจริงของโครงการ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่ต้องอธิบายหรือชี้แจงด้วยเหตุและผลที่ได้จากการคำนวณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

–  ตารางที่ระบุตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณ

–  วิธีการคำนวณที่ใช้

–  รูปแบบหรือสูตรทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็นทางทฤษฎี

–  ความแตกต่างของผลจากการคำนวณกับผลดำเนินงานจริงของโครงการและคำอธิบายที่ช่วยให้เข้าใจตัวเลขเชิงปริมาณมากขึ้น

ผลผลิตโดยสรุปและกิจกรรมในอนาคต

20

เป็นการสรุปผลการดำเนินงานของโครงการคำอธิบายเกี่ยวกับผลผลิตในทางบวกและสร้างสรรค์ แต่เป็นสิ่งที่เกิดจริงไม่เป็นการรายงานเท็จมีการสรุปประเด็นหรือกิจกรรมที่สามารถดำเนินการเพื่อปรับปรุงผลงานของโครงการ และกรอบเวลาที่เกี่ยวข้อง ความพยายามหรือทรัพยากรที่จะต้องใช้ และเงินหรือต้นทุนที่เกี่ยวข้อง  โดยเฉพาะ

–  สิ่งที่เป็นผลงานของโครงการที่เกิดแล้ว และความเหมาะสมตามภาระงานที่ได้รับมอบหมาย

–  ระบุแนวทางปฏิบัติ และประเด็นที่เสนอแนะเพื่อการปรับปรุงคุณภาพของผลงานของโครงการ

–  ระบุจุดอ่อนเฉพาะเจาะจงของโครงการ และวิธีการที่ควรจะดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อลดจุดอ่อน

ลักษณะเฉพาะเจาะจงของโครงการ

60

เป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุดของการจัดทำรายงานการประเมินผลโครงการเป็นการนำเสนอรายการในเชิงตารางถึงความสำคัญและลักษณะที่เฉพาะเจาะจงของโครงการ ซึ่งควรจะสรุปไว้อย่างครบถ้วนโดยเฉพาะประเด็นหรือลักษณะวิกฤติของโครงการ  โดยเฉพาะ

–  รายการที่เป็นประเด็นหรือวิกฤติหลักๆ ของโครงการโดยอาจจะทำเป็นตารางหรือหัวข้อย่อยๆ เพื่อให้อ่านได้ง่าย

–  ระบุประเด็นเฉพาะของโครงการที่เป็นคุณค่าต่อหน่วยงานต่อประโยชน์ทางการเงิน ทางเศรษฐกิจ และทางสังคมโดยแสดงเป็นตัวเลขหรือเชิงคุณภาพ

–  ระบุประเด็นเฉพาะของโครงการที่วัดค่าได้ วิธีการวัดแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการกำหนดมูลค่า

การอ้างอิง

10

เป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้ประเมินมีความคุ้นเคยกับแนวคิดหรือแนวทางออกในการแก้ไขปัญหาอื่นๆโดยการอ้างอิงถึงการแก้ไขที่เคยเกิดมาแล้วในอดีต หรืออ้างอิงถึงงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

ควรจะจัดรูปแบบของการอ้างอิงให้น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ

เอกสารแนบ

20

เป็นความเห็นของทีมประเมินผลโครงการไม่เกินคนละ 1 หน้าเกี่ยวกับผลงานที่ทีมประเมินผลจัดทำเกี่ยวกับโครงการโดยครอบคลุม-  ส่วนของการประเมินผลโครงการที่ตนเกี่ยวข้อง

–  บทเรียนที่ได้จากการประเมินผลโครงการ เกี่ยวกับบทเรียนที่เคยเรียนรู้ในภาคทฤษฎีมาก่อนหน้านี้

–  ระบุส่วนที่มีคุณค่ามากที่สุดและน้อยที่สุดของโครงการในการบรรลุเป้าหมายของโครงการ

–  ปัญหาและอุปสรรคที่ขัดขวางการดำเนินโครงการ

พฤษภาคม 3, 2011 Posted by | ไม่มีหมวดหมู่ | , , , , , , , , , , , , , | ใส่ความเห็น